วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2551

ข้อสอบครูสิระ

ความเป็นมาของระบบอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่มีการพัฒนามาจาก อาร์พาเน็ต (ARPAnet) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของ หน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advance Research Projects Agency) หรือที่เรียกย่อกันว่า อาร์พา (ARPA) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา (Department of Defense) อาร์พาเน็ตในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหาร และโดยแท้จริงแล้วอาร์พาเน็ตเป็นเครือข่ายเพื่อป้องกันการทำลายการสื่อสารทางคอมพิวเตอร์ เช่น ถ้าคอมพิวเตอร์จุดใดจุดหนึ่งถูกระเบิดทำลาย คอมพิวเตอร์ส่วนอื่นสามารถหาเส้นทางการติดต่อใหม่ได้

ยุคของ TCP/IP
มาตรฐานในการสื่อสาร หรือโพรโตคอล (protocol) ที่ใช้ในระยะต้นของอาร์พาเน็ตเป็นโพรโตคอลที่เรียกว่า NCP (Network Control Protocol) ซึ่งเป็นโพรโตคอลที่เชื่อมต่อระหว่างโฮสต์กับโฮสต์ (Host-to-host protocol) โพรโตคอลนี้มีข้อจำกัดด้านจำนวนโฮสต์ที่จะต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน
อาร์พาได้วางแผนการขยายเครือข่ายและเปิดการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอื่น การเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายกับเครือข่ายต้องการโพรโตคอลซึ่งทำงานได้กับสายสื่อสาร และฮาร์ดแวร์หลากรูปแบบและสามารถรองรับโฮสต์จำนวนมากได้ ซึ่งได้แก่โพรโตคอล TCP/IP ซึ่งย่อมาจาก Transmission Control Protocol / Internet Protocol ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน
ต่อมาในปี พ.ศ.2529 NSF (National Science Foundation) ได้สร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า NSFnet เพื่อใช้ในการวิจัยและการศึกษา โดยใช้โพรโตคอล TCP/IP และในที่สุดทางอาร์พาก็ได้มาเชื่อมต่อด้วย ด้วยเหตุที่ NSF เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรและมีงบประมาณจำกัด จึงโอนการดำเนินงาน NSFnet ให้กับบริษัท ANS (Advanced Network and Service) และเปลี่ยนชื่อ NSFnet เป็น อินเตอร์เน็ต (Internet) จนถึงปัจจุบัน
เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายรวมของหลายองค์กร การบำรุงรักษาเครือข่ายแต่ละหน่วยงานจะดูแลเฉพาะในส่วนของตน จึงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเตอร์เน็ตทั้งหมด แต่ก็มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำหนดทิศทางและมาตรฐานของอินเตอร์เน็ตโดยรวมคือ สมาคมอินเตอร์เน็ต (Internet Society) ซึ่งมีผู้ใช้และผู้ให้บริการทั่วไปเป็นสมาชิก
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ครอบคลุมทั่วโลก และมีผู้ใช้ใส่ข่าวสารข้อมูลไว้จำนวนมากหลากหลายประเภท ซึ่งสามารถค้นคว้าและรับส่งข้อมูลกับผู้ใช้คนอื่นได้
ในด้านการศึกษาสามารถเข้ามาหาข้อมูลทางวิชาการต่างๆ เช่น ทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม-ศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ อื่น ๆ นอกจากนี้สามารถสั่งงานคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่เป็นสมาชิก และมีความเร็วสูงเพื่อให้ประมวลผลข้อมูลแล้วส่งผลลัพธ์กลับมา โดยผู้ใช้งานสั่งงานทางไกลได้ หรือติดต่อกับผู้ใช้งานอื่นเพื่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน
ในด้านการสื่อสารสามารถใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อรับส่งข่าวสารระหว่างกัน โดยการใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์(E-mail)ได้ทั่วโลกในเวลารวดเร็ว และใช้ค่าใช้จ่ายต่ำเมื่อเทียบกับการส่งจดหมายหรือทางโทรสาร หรือการใช้โปรแกรมสื่อสารอื่นที่สามรถส่งภาพและเสียงได้
ในด้านธุรกิจการค้าสามารถซื้อขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต โดยผ่านทางเวบไซต์(Web site) โดยการเลือกสินค้าแล้วสั่งซื้อและจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิต รวมถึงการโฆษณาสามารถทำโดยผ่านทางเวบไซต์ด้วย รวมทั้งการเปิดบริการตอบคำถาม ให้ข้อมูลแก่ลูกค้าทางอินเตอร์เน็ตได้
ในด้านบันเทิง หรืองานอดิเรก ก็มีให้ใช้ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น วารสารทางอิเล็กทรอนิกส์ การชมภาพยนตร์ การฟังเพลง ข่าว เกมคอมพิวเตอร์ เรื่องขำขัน คำทำนาย หรือรูปภาพสวยๆ ทั้งที่ต้องชำระเงินค่าบริการและที่ไม่เสียค่าบริการให้เลือก
ความเป็นมาของระบบอินเตอร์เน็ต
อินเตอร์เน็ตเกิดขึ้นที่ประเทศอเมริกา เมื่อกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ ต้องการพัฒนาคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ทางด้านการทหาร จึงได้พัฒนาขึ้น และให้ชื่อว่า " Advanced Research Projects Agency network" หรือเรียกกันย่อ ๆ ว่า "ARPANet" มีลักษณะพิเศษกว่าเครือข่าย คอมพิวเตอร์อื่นๆ ในด้านความสามารถในการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ได้อย่างไม่ผิดพลาด ซึ่งในครั้งนั้น ARPANe ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ 4 เครื่อง โดยมาตราฐานการรับส่งข้อมูลชื่อว่า Network Coและ เครือข่าย ARPANet ก็ทำงานสำเร็จได้เป็นอย่างดี แต่มาตรฐาน NCP เดิมนั้นมีข้อจำกัดอยู่มาก จึงได้พัฒนามาตราฐานการรับส่งข้อมูลอันใหม่ เพื่อตอบสนองกับเครือค่ายขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นและให้ชื่อว่า TCP/IP และมาตราฐานอันนี้ลง ท้ายด้วย "Internet Protocol" ARPANet จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็น "Internet" แทน และจึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ต
บริการบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้มีการพัฒนาและปรับปรุงอยู่เสมอ โดยมีบริการใหม่ๆ เกิดขึ้นเพื่อสนองแก่ความต้องการของผู้ใช้ สำหรับบริการหลักๆ ที่มีให้บริการอยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ได้แก่
บริการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ บริการถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล บริการเข้าใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระยะไกล บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลและความคิดเห็น บริการติดต่อสนทนาออนไลน์ บริการค้นหาข้อมูลและแสดงข้อมูลในลักษณะของ บริการค้นหาและแสดงข้อมูลผ่านเครือข่ายใยแมงมุม
การสื่อสารในระบบอินเตอร์เน็ตมีบทบาทต่อการเรียนรู้ของมนุษย์คือ ระบบอินเตอร์เน็ตช่วยกระบวนการเรียนรู้เป็นไปได้รวดเร็วขึ้นและสะดวกขึ้นในเวลาเดียวกันและมีบริการที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ และบริการต่างๆมีข้อมูลและความคิดเห็นสาระความรู้มากมายตามแต่ความต้องการของคนที่จะใช้บริการ
การเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ต
เทคโนโลยีไร้สายแบบบลูทูธ พลิกโฉมการตลาดด้านการสื่อสารและการเชื่อมต่ออุปกรณ์แบบไร้สาย บลูทูธใช้เครื่องกำเนิดคลื่นวิทยุขนาดเล็ก ราคาไม่สูงนักเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ มือถือ พีดีเอ รวมทั้งอุปกรณ์ขนาดพกพาต่าง ๆ และยังสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ อุปกรณ์ Wireless Headphones แบบพกพาหรือ portable นั้นถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พัฒนาออกมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการใช้งานอุปกรณ์ไร้สายที่สามารถพกพาไปใช้งาน ณ สถานที่ใด ๆ ก็ได้ โดยที่มีขนาดที่ไม่ใหญ่จนเกินไปทำให้ไม่สะดวกในการพกพา ในส่วนอุปกรณ์ Headphones แบบพกพานั้นส่วนใหญ่จะใช้ Technologies Bluetooth หรือสัญญาณวิทยุ (RF) ในการรับ-ส่งสัญญาณระหว่างอุปกรณ์ Headphones กับอุปกรณ์การเล่นแบบพกพาเช่น iPod เป็นต้นบทความนี้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีอุปกรณ์ Wireless Headphones แบบพกพาหรือ portable และหลักการพื้นฐานของอุปกรณ์ Wireless Headphones แบบพกพา นอกจากนั้นอุปกรณ์ Wireless Headphones มีขีดความสามารถที่สะดวก แก่ผู้ใช้อุปกรณ์ Wireless Headphones แบบพกพาหรือ portable ได้ และมีบทสรุปเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอุปกรณ์ Wireless Headphones แบบพกพาหรือ portable portable-wireless.pdf
อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่าย ปัจจุบันการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตามบ้าน ที่ได้รับความนิยมมี 2 แบบใหญ่ๆคือแบบ Dial-up คือการหมุนโทรศัพท์เพื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน Modem 56K หรือการเชื่อมต่อผ่าย Modem แบบ ADSL โดยจะมีข้อแตกต่างคือ การหมุนโมเด็มแบบ 56K จะต้องมีการใช้งานสายโทรศัพท์ขณะเชื่อมต่อ ทำให้ไม่สามารถสนทนาคุยโทรศัพท์ระหว่างเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ ทั้งนี้หากมีใครโทรเข้ามาก็ไม่สามารถติดต่อได้เช่นกัน ซ้ำสายยังอาจหลุดเนื่องจากมีการเรียกสายซ้อนอีกด้วย การเชื่อมต่อแบบ ADSL มีข้อดีคือสามารถใช้งานคุยโทรศัพท์ในขณะเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ และสามารถเชื่อมต่อด้วยความเร็ว 128K, 256K, 512K, 1MB, 2MB, 4MB เป็นต้น
ผู้ให้บริการเครือข่าย อินเทอร์เน็ต(ISP) กับสถานภาพ สถานประกอบการถาวรประเภทตัวแทน ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ Internet Service Provider (ซึ่งต่อไปจะเรียกสั้นๆ ว่า ISP) น่าจะถือเป็นสถานประกอบการถาวรประเภทตัวแทนได้ตามนัยแห่งข้อบทมาตรา 5(5) ของต้นแบบอนุสัญญาภาษีซ้อนฉบับ OECD (ต่อไปจะเรียกสั้นๆ ว่า อนุสัญญาภาษีซ้อนฉบับ OECD) และน่าจะใกล้เคียง และชัดเจนมากกว่ากลไกอิเล็กทรอนิกส์ตัวอื่นๆ ดังที่ได้กล่าวมา ในตอนที่แล้ว (ตอนที่ 2 ฉบับเมษายน 2550) เนื่องเพราะความแตกต่างอย่างเด่นชัดของ ISP จากตัวละครอิเล็กทรอนิกส์ตัวอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงที่ความไม่คลุมเครือในสถานะความเป็นบุคคลของ ISP ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการพิจารณาการเกิดขึ้น/มีอยู่ของสถานประกอบการถาวรประเภทตัวแทนตามนัยแห่งมาตรา 3(1) ของต้นแบบอนุสัญญาภาษีซ้อนฉบับ OECD ที่ซึ่งตัวละครอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ติดปัญหาความคลุมเครือตรงนี้ สาเหตุที่กล่าวเช่นนี้ได้ด้วยเป็นเพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว ISP ก็จะดำเนินธุรกิจให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอยู่ในประเทศต่างๆ ในรูปของนิติบุคคลแทบทั้งสิ้น ดังนั้น แนวความคิดของประเทศแหล่งเงินได้ (ประเทศที่ ISP ดำเนินกิจการอยู่) ที่จะพิจารณาให้ ISP เป็นจุดเกาะเกี่ยวทางภาษีเพื่อใช้อ้างเขตอำนาจทางภาษีเหนือนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบกิจการอีคอมเมอร์สในประเทศต่างๆ รวมทั้งในประเทศแหล่งเงินได้จึงถูกเสนอให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในการพิจารณาเรื่องสถานประกอบการถาวรประเภทตัวแทน เมื่อเป็นดังนี้ บทบาทและหน้าที่ของ ISP ในประเทศแหล่งเงินได้ที่มีต่อตัวการต่างประเทศ ซึ่งในที่นี้หมายถึงเจ้าของเว็บไซต์ที่มีถิ่นที่อยู่ทางภาษีในต่างประเทศ แต่มีเว็บไซต์ปรากฏอยู่ในประเทศแหล่งเงินได้ โดยได้เช่าพื้นที่เว็บไซต์ไว้บนเซิฟเวอร์ของ ISP จึงถูกเพ่งเล็งในการพิจารณาการเกิดขึ้น/มีอยู่ของสถานประกอบการถาวรประเภทตัวแทน ตามหลักในข้อ 5(5) ของอนุสัญญาภาษีซ้อน
คณะกรรมการการเงินและภาษีซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานหลักของ OECD ได้มีการวิเคราะห์ถึงสถานภาพทางภาษีของ ISP อย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ. 2543 ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าว ได้หารือประชุมกันในเรื่องของความเป็นไปได้ที่จะนำมาตรา 5(5) ของอนุสัญญาภาษีซ้อนฉบับ OECD มาพิจารณาประกอบกับบทบาท และหน้าที่ของ ISP แต่ยังคงมีการวิเคราะห์ถกเถียงกันในประเด็นข้อเท็จจริงที่ว่า ISP โดยทั่วไป และโดยตัวของมันเองแล้วมิได้เป็นตัวแทนของเจ้าของเว็บไซต์แต่อย่างใด เพราะทำหน้าที่เป็นเพียงแค่ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแก่เจ้าของเว็บไซต์ และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นการทั่วไป โดยที่ ISP มิได้มีอำนาจที่จะกระทำการใดๆ ในนามเจ้าของเว็บไซต์ และ/หรือ ไม่มีอำนาจในการทำสัญญาผูกพันเจ้าของเว็บไซต์ต่อบุคคลที่สาม อีกทั้งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า โดยปกติแล้ว เมื่อเจ้าของเว็บไซต์มีการเช่าพื้นที่บนเซิฟเวอร์ของ ISP ตามข้อกำหนด และเงื่อนไขของสัญญาเช่าที่ได้ลงนามกับ ISP ISP ก็จะเปรียบเป็นเพียงแค่ผู้ให้บริการเวทีอินเทอร์-เน็ตสำหรับนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (เจ้าของเว็บไซต์) เหล่านี้เท่านั้นโดยหาได้กระทำการเป็นตัวแทนกระทำการแทนตามคำสั่งของนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ไม่ ฉะนั้น บทบาทและหน้าที่ของ ISP บนเวทีพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จึงน่าจะมีความเป็นอิสระจากเจ้าของเว็บไซต์อย่างชัดเจน ข้อเท็จจริงตรงนี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในหมู่ประเทศสมาชิกของ OECD และประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกแต่เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมแทบทุกนัด รวมทั้ง นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีระหว่างประเทศที่มีชื่อเสียง
แม้แนวความคิดจะสรุปออกมาค่อนข้างจะเป็นเอกฉันท์ในการประชุมดังกล่าวถึงสถานภาพความเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอิสระของ ISP แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีแนวความคิดให้การยอมรับถึงความเป็นไปได้ในบางสถานการณ์ที่ไม่เป็นปกติธรรมดาที่ ISP จะทำหน้าที่ และมีบทบาทเป็นสถานประกอบการถาวรประเภทตัวแทนของนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์(เจ้าของเว็บไซต์) ได้เช่นกัน
แม้จะยังไม่มีการชี้แจงอย่างเป็นทางการจากการประชุมของ OECD ดังกล่าวว่า ในบางสถานการณ์ที่ไม่ปกติธรรมดาที่จะทำให้ ISP เป็นสถานประกอบการถาวรประเภทตัวแทนของเจ้าของเว็บไซต์นั้นจะหมายถึงสถานการณ์ใดบ้าง แต่มติจากการประชุมในปีก่อนหน้า คือ การประชุมในปี พ.ศ. 2542 ที่มีประเทศสมาชิก OECD เข้าร่วมประชุม ได้บ่งบอกนัยสำคัญที่พาดพิงมาถึงประเด็นเรื่องสถานภาพทางภาษีของ ISP นี้ด้วย เหล่านักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายภาษีระหว่างประเทศ ทั้งของ OECD และที่เป็นอิสระได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้เอาไว้ในการประชุมดังกล่าวว่า โดยปกติแล้วบทบาท และหน้าที่ของ ISP ก็เป็นเพียงแค่ผู้ให้บริการระบบเครือข่ายอินเทอร์-เน็ตเท่านั้น เป็นแหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลสำคัญ และจำเป็นของเว็บไซต์ (บนเซิฟเวอร์ของ ISP) ตามข้อกำหนด และเงื่อนไขของสัญญาบริการเช่าพื้นที่เก็บข้อมูลและให้บริการเสริมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บทบาท และหน้าที่เหล่านี้ คือกรณีอันเป็นปกติธุระในธุรกิจของ ISP เพราะฉะนั้นเมื่อใดก็ตามที่ ISP ดำเนินธุรกิจการงานภายใต้บริบทเหล่านี้ ก็ถือเป็นการกระทำการในทางปกติธุระของตนเอง แต่เมื่อใดก็ตามที่ ISP กระทำกิจการนอกเหนือจากขอบเขต บทบาท และหน้าที่ปกติธุระเหล่านี้ หรือทำหน้าที่และมีบทบาทมากไปกว่าเป็นผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นการทั่วไป กล่าวคือ จัดบริการเสริมบางอย่างเป็นการเฉพาะให้แก่เจ้าของเว็บไซต์บางแห่ง รับโปรโมทสินค้าให้แก่เว็บไซต์บางแห่งในบางกรณี หรือรับจ้างดำเนินการแทนเจ้าของเว็บไซต์ในเรื่องการหาคำสั่งซื้อสินค้า การสั่งซื้อสินค้า และ/หรือ การรับชำระเงินค่าสินค้าโดยกระทำแทน และในนามเจ้าของเว็บไซต์โดยผ่านทางเซิฟเวอร์พิเศษที่สามารถดำเนินการโต้ตอบต่างๆ โดยกลไกอัตโนมัติ การกระทำดังนี้ จะทำให้ ISP มีโอกาสที่จะเข้าข่ายถูกพิจารณาเป็นตัวแทนไม่อิสระของนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์/เจ้าของเว็บไซต์ตามหลักของสถานประกอบการถาวรประเภทตัวแทนของตัวการต่างประเทศ (เจ้าของเว็บไซต์)ได้ มีข้อสังเกตที่น่าสนใจเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาษีระหว่างประเทศ เทอเรส เคลลี่ ด้วยว่า กรณีที่ ISP ถูกควบคุมโดยสัดส่วนการถือครองหุ้น (เช่น การที่ ISP ประกอบกิจการในรูปแบบของนิติบุคคล และหุ้นส่วนใหญ่ในนิติบุคคลนั้น คือ บริษัทเจ้าของเว็บไซต์ ซึ่งมีอำนาจบริหาร จัดการ และสั่งการ) กรณีดังนี้ก็มีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่จะทำให้ ISP ถูกพิจารณาเป็นสถานประกอบการถาวรประเภทตัวแทนของเว็บไซต์ได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนขอติงข้อสังเกตนี้ไว้ประการหนึ่งว่า ถ้าการพิจารณาถึงสถานภาพการเป็นสถานประกอบการถาวรประเภทตัวแทนตามนัยแห่งข้อบทมาตรา 5(5) (6) (7) พิจารณาแต่เพียงสัดส่วนการถือครองหุ้นในบริษัทของ ISP แล้วพิจารณาเบ็ดเสร็จเด็ดขาดว่าการที่บริษัท ISP มี (บริษัท) เจ้าของเว็บไซต์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ถือว่า ISP ถูกควบคุมโดย (บริษัท) เจ้าของเว็บไซต์ ฉะนั้น จึงถือ ISP เป็นตัวแทนของบริษัทหลังนั้น ไม่น่าจะเพียงพอที่หน่วยงานภาษีในประเทศแหล่งเงินได้จะยกอ้างหลักแห่งมาตรา 5(5) ของอนุสัญญาภาษีซ้อนตามแบบ OECD ดังกล่าว เพื่อใช้แสดงเขตอำนาจภาษีของรัฐแหล่งเงินได้เหนือนักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่างประเทศโดยผ่านทาง ISP ในฐานะสถานประกอบการถาวรประเภทตัวแทนในรัฐแหล่งเงินได้ แต่ควรจะต้องได้ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมประกอบอย่างชัดเจนด้วยว่า ISP ขาดความเป็นอิสระในการประกอบธุรกิจให้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอย่างแท้จริง กล่าวคือ จะต้องได้ความด้วยว่า ISP ขาดความเป็นอิสระทั้งทางนิตินัย และนัยทางด้านเศรษฐกิจในขณะนั้นๆ มิใช่เพียงแค่ขาดความเป็นอิสระในกรณีหนึ่งกรณีใดกรณีเดียวเท่านั้น แต่ต้องได้ความทั้งสองอย่างพร้อมๆ กัน องค์ประกอบทั้งสองนัยนี้เป็นข้อพิจารณาที่สำคัญในการพิจารณาถึงความเป็นอิสระของตัวแทนตามหลักแห่ง มาตรา 5(6) ของอนุสัญญาภาษีซ้อนฉบับของ OECD และตามคำอธิบายแนบท้ายของมาตรา 5 ที่ชี้แจงโดยคณะทำงานของ OECD ที่อยู่ภายใต้ข้อ 37 และ 38 จัดทำขึ้นในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2546
แม้ผู้เขียนจะเห็นด้วยกับสถานภาพความเป็นอิสระของ ISP ในกรณีที่ ISP กระทำการต่างๆ อันเป็นปกติธุระในทางธุรกิจของ ISP เป็นการทั่วไป แต่ก็ยังคงมีการถกเถียงกันจากหลายฝ่ายในประเด็นข้อเท็จจริงที่เจ้าของเว็บไซต์ให้อำนาจแก่ ISP เพื่อลงนามในสัญญาอิเล็ก- ทรอนิกส์แทนเว็บไซต์ สำหรับการทำธุรกรรมระหว่างเว็บไซต์กับบุคคลที่สาม (ลูกค้า) ซึ่งจะดำเนินการโดยอัตโนมัติด้วยสมาร์ทเซิฟเวอร์พิเศษของ ISP ว่า การกระทำและนิติสัมพันธ์ ดังกล่าวจะถือว่าเข้าข่ายกระทำหน้าที่และดำเนินบทบาทอันไม่เป็นปกติธุระ อันจะทำให้ ISP สูญเสียความเป็นอิสระ หรือเข้าข่ายเป็นสถานประกอบการถาวรประเภทตัวแทนตามนัยแห่งมาตรา 5(5) ของต้นแบบอนุสัญญาภาษีซ้อนฉบับ OECD ได้หรือไม่ ความเห็นของผู้เขียนในเรื่องนี้นั้น แม้ว่า ISP จะได้รับมอบอำนาจเพื่อลงนามในสัญญาธุรกิจในนามเจ้าของเว็บไซต์โดยผ่านทางซอฟท์แวร์พิเศษที่มีโปรแกรมโต้ตอบอัตโนมัติกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เข้ามาใช้บริการ หรือซื้อสินค้าในเว็บไซต์ แต่แท้จริงแล้วความสัมพันธ์ระหว่าง ISP กับเว็บไซต์ ในกรณีดังกล่าว ยังไม่น่าจะเข้าข่ายตัวแทนกระทำการในนามตัวการโดยที่ตัวแทนขาดความเป็นอิสระตามนัยแห่งมาตรา 5(5) ของอนุสัญญาภาษีซ้อนฉบับ OECD แต่อย่างใด แต่น่าจะเป็นกรณีความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการที่เป็นอิสระฝ่ายหนึ่ง กับผู้รับบริการอีกฝ่ายหนึ่งตามหลักกฎหมายนิติกรรมสัญญาทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเงื่อนไขของการบริการดังกล่าวที่จัดสรรโดย ISP คือ การรับมอบอำนาจในการลงนามแทนเว็บไซต์ผ่านทางสมาร์ทเซิฟเวอร์ที่ทำงานโดยอัตโนมัติเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาการให้บริการที่ ISP ทำให้แก่เว็บไซต์เป็นการทั่วไป ดังนั้น เมื่อ ISP เป็นเพียงแค่ผู้ให้บริการกระทำกิจการงานของตนเองโดยให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และบริการเสริมอื่นๆ โดยอิสระแก่เว็บไซต์ในลักษณะเดียว กันนี้เป็นการทั่วไปเป็นปกติธุระ ความสัมพันธ์ของทั้งสองจึงไม่น่าจะเกิดความสัมพันธ์ของตัวการตัวแทนในลักษณะที่ตัวแทนถูกควบคุมโดยตัวการ หรือขาดความเป็นอิสระ อันจะเข้าข่ายสถานประกอบการถาวรประเภทตัวแทน

Wold Wide Web ( WWW ) หมายถึง เน็ตเวิร์คที่มีการเชื่อมต่อกันไปทั่วโลก เรียกย่อว่า “ เว็บ “ ( Web ) ในเว็บมีอะไรหลายอย่างที่น่าสนใจเก็บรวบรวม ทำให้สามารถดูเอกสารหรือค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ ซึ่งจะแสดงผลออกมาทีละหน้า แต่ละหน้าเรียกว่า “เว็บเพจ” ( Web Page )

URL คือ ตำแหน่งที่เก็บเว็บเพจ ดังนั้นเมื่อ
ต้องการเปิดเว็บเพจที่ต้องการจะต้องระบุตำแหน่งที่ต้องการ
จะต้องระบุตำแหน่งของเว็บเพจนั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า URL
( Uniform Resource Location )

Web Browser ทุกชนิดจะทำงานโดยการอ่านข้อมูลจาก
Web Server ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องติดตั้ง Web Browser
ไว้เสมอ เช่น Nescape Comminucation , IE
HTML หรือ HyperText Markup Language [ wikipedia.org]
HTML คือ ภาษาทางคอมพิวเตอร์ออกแบบมาเพื่อใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
Domain Name หมายถึง โดเมนเนม ก็คือ ชื่อของเว็บ (Web address) ตัวอย่างเช่น เมื่อคุณเข้ามาที่เว็บไซต์นี้ คุณกำลังเรียกดูข้อมูลที่ตั้งอยู่ที่ www.wakecolo.com ซึ่ง "wakecolo.com" คือ Domain Name นั่นเอง

Basic Search คือ เครื่องมือในการค้นหาว็บไซต์ ทำหน้าที่ในการให้บริการค้นหาข้อมูล (Search Engine) โดยเน้นเรื่องความสามารถในการค้นหาข้อมูลภาษาไทยบนอินเทอร์เน็ต มีความสามารถเทียบเท่าเสิร์ชเอ็นจิ้นชื่อดังจากต่างประเทศ โดยการค้นหาจะเป็นแบบค้นหาข้อมูลจากทุกคำของข้อมูลจริง (Full Text Search) ทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษจากเว็บเพจจำนวนหลายแสนหน้า มีการเก็บรวบรวมข้อมูลเว็บเพจที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยมาจัดทำดัชนี (index) โดยอัตโนมัติ ผสมกับการจัดแยกหมวดหมู่อย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็วมากที่สุด

Search บน google
Google มากจากคำว่า "googol" เป็นภาษาทางคณิตศาสตร์ หมายถึง 1*10100
การใช้เครื่องหมาย + หรือคำว่า and เช่น พิมพ์คำว่า Wireless Lan จะเป็นการหาเวบที่มีคำทั้ง 2 คำ หรือคำใดคำหนึ่งด้วย แต่ถ้าใส่ เป็น Wrieless+Lan จะเป็นการหาเวบที่มีคำทั้ง 2 คำเท่านั้น และ google จะไม่หาคำว่า where, how, the, a, to, com ถ้าต้องการหาคำพวกนี้ต้องใส่เครื่องหมาย + เข้าไปด้วย
การใช้เครื่องหมาย - หน้าคำที่ไม่ต้องการค้นหาเช่น ต้องการหาคำว่า Apple ที่เป็นผลไม้ ไม่ใช่ Macintosh ก็ใช้คำว่า Apple -macintosh
การค้นหาแบบเป็นประโยค ก็ให้ใช้เครื่องหมายคำพูดเช่น "stand up speak up"
การค้นหาเนื้อหาภายในเวบใดเวบหนึ่ง เช่นถ้าต้องการหาคำว่า PDA จากเวบ howstuffworks ก็ใช้คำว่า PDA site:www.howstuffworks.com
การค้นหาว่ามีเวบใดที่ link กลับมายังเวบใดเวบหนึ่ง ใช้คำว่า link:www.google.com
การค้นหาแบบระบุชื่อชนิดของเอกสารใช้คำว่า filetype:doc หรือ filetype:pdf เช่น Wireless Lan filetype:pdf
การใช้ google เป็นเครื่องคิดเลข เช่น 1+8*9 หรือ sice90
เวบต่าง ๆ ของ google
wwwgoogle.com/holidaylogos.htmllogo ของ google
www.google.com/press/zeitgeist.html สรุปการค้นหา
http://catalogs.google.com
http://labs.google.com
http://answers.google.com/answers
http://wwwgooglestore.com
http://froogle.google.com



Uploadtoday News
เนื่องด้วยทาง Website "UploadToday.com" ไม่มีนโยบายสนับสนุนหรือส่งเสริมหรือยินยอมให้นำบริการของ UploadToday.com ไปใช้ในทางละเมิด หรือผิดกฏหมาย หรือขัดต่อศีลธรรมและจารีตประเพณี ตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการ แต่เพื่อให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันนี้แล้วนั้น ดังนั้นทางเราจึงขอทำการแก้ไข กฏและข้อบังคับของเว็บไซด์ เพิ่มเติมดังนี้
กฏและข้อบังคับของเว็บไซด์ Uploadtoday.com
1. ห้าม Upload File, Media หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่พาดพิงถึงสถาบันพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ ไปในทางเสื่อมเสียเป็นอันขาด 2. ห้าม Upload File, Media หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ส่อไปในทางลามก อนาจาร 3. ห้าม Upload File, Media หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าจะก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นความผิดต่อความมั่นคงของประเทศ 4. ห้าม Upload File, Media หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกของประชาชน 5. ห้าม Upload File, Media หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา 6. ห้าม Upload File, รูปภาพหรือ Media ต่าง ๆ ที่เป็นการตัดต่อภาพบุคคล ที่อาจทำให้เกิดความเสื่อมเสียแก่บุคคลนั้น 7. ห้าม Upload File, Media หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่ผิดกฎหมายทุกบทบัญญัติ รวมทั้ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ 8. ห้าม Upload File, เพลง, MV, Clip, Video, Media, รูปภาพ และ Software ทุกชนิดที่ละเมิดลิขสิทธิ์ 9. UploadToday.com ไม่สนับสนุนหรือส่งเสริมหรือยินยอมให้นำบริการของ UploadToday.com มาใช้ในการฝากข้อมูลตามข้อ 1 ถึง 8 ข้างต้น 10. UploadToday.com ไม่มีส่วนรู้เห็นใดๆ เกี่ยวกับไฟล์และข้อมูลที่ผู้ใช้บริการ Upload ขึ้นมา UploadToday.com เป็นเพียงผู้ให้บริการฝากไฟล์หรือข้อมูลสาธารณะเท่านั้น 11. UploadToday.com ขอสงวนสิทธิ์ในการลบ File ที่ผู้ใช้บริการ Upload ขึ้นมาแต่ผิดเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นทุกกรณี
Chat
Chat หมายถึงการสนทนาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตระหว่างคนสองคนหรือมากกว่า โดยทุกคนจะต้องใช้โปรแกรมตัวเดียวกันและออนไลน์ในเวลาเดียวกัน ตัวอย่างโปรแกรมสำหรับ Chat ได้แก่ MSN Messenger, Yahoo, ICQ, QQ เป็นต้น
ข้อควรระวัง 10 ประการใรการเล่นแชท
1.ไม่ควรจะรีบนัดพบเจอกัน
2.ไม่ควรเข้าไปในห้องที่มีการ Sex
3.ไม่ควรไว้ใจกับคนที่ใช่เน็ตมากเกินไป
4.ไม่ควรซีเรียสกับการ Chat
5.ไม่ควรที่จะให้ที่อยู่กับคนที่Chatด้วย
6.ไม่ควรเชื่อคำพูดคนที่แชทให้มากนัก
7.การ Chat ไม่เห็นหน้าอย่าไว้วางใจ
8.การChatบางครั้งอาจจะมีคนคุยดีแต่แค่ภายนอก
9.การChatนั้นมีดีและไม่ดี
10.อย่าเล่าเรื่องของตัวเรามากนัก


กฎหมายอินเตอร์เน็ต ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน
วันอังคารที่ผ่านมาสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ลงมติอนุมัติในหลักการ กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นกฎหมายเสนอโดยฝ่ายรัฐบาล สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้มีหลายประเด็น อาทิ ผู้กระทำการต่างๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาด ถือว่ามีความผิดและมีบทลงโทษชัดเจน
หมายความว่าถ้าผ่านสามวาระแล้ว ต่อไปใครปล่อยไวรัสคอมพิวเตอร์ลงในระบบอินเตอร์เน็ท จะมีกฎหมายชัดเจนที่จะเล่นงานลงโทษ ซึ่งก็เป็นเรื่องดีแต่ไม่รู้กฎหมายนี้จะไปเล่นงานพวกที่ทำอยู่ในต่างประเทศได้แค่ไหน และบทบัญญัติในเรื่องนี้คงจะครอบคลุมถึงผู้มีเจตนาทำให้เว็บเพจน์ของคนอื่นมีปัญหาด้วย เว็บไซต์ไหนวิพากษ์วิจารณ์ดีนัก ก็อาจจะมีมือดีเขียนโปรแกรมเข้าไปทำให้ระบบการทำงานเว็บไซต์นั้นรวน ต่อไปจะมีกฎหมายมาเล่นงานพวกนี้
การใช้วิธีการใดๆเข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลของบุคคลอื่นอันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามก อนาจาร ก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐรวมถึงความสงบสุขและศีลธรรมของประชาชนอย่างนี้ก็ผิดตามกฎหมายใหม่ด้วย (ข้อมูลจากผู้จัดการออนไลน์)
อ่านเผินๆ แนวคิดที่จะออกกฎหมายดีมากแต่ก็ไม่ทั้งหมด ส่วนที่เห็นด้วยก็ คือ "การใช้วิธีการใดๆเข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลของบุคคลอื่นอันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามก อนาจาร" พฤติกรรมเหล่านี้สมควรที่จะมีกฎหมายควบคุมและลงโทษ เพราะเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิ์ของผู้อื่น ทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น และเรื่องลามก อนาจารนั้นก็ทำลายศีลธรรมอันดีในสังคม
ส่วนประเด็นเผยแพร่ข้อมูลแล้วก่อให้เกิดความเสียหายกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ นี่สิ ท่านกำลังออกกฎหมายกว้างไปหรือเปล่า ถ้าจะเอาตามนี้แล้วสิทธิ และเสรีภาพในการแสดงความคิดของประชาชนจะให้ทำได้เฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์เท่านั้นหรือ เป็นเรื่องที่ล่อแหลมต่อการกระทำความผิดมาก เพราะสื่อทุกวันนี้ส่วนใหญ่ทำแบบมัลติมีเดีย คือ งานชิ้นเดียวกันอาจปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อวิทยุ โทรทัศน์ รวมถึงอินเตอร์เน็ทด้วย
ที่สำคัญมีบรรทัดฐานหรือมีอะไรมาวัดว่า การเผยแพร่ข้อมูลอย่างไรกระทบหรือไม่กระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็นทางเศรษฐกิจนั้นมักจะชี้ทิศทางตามฐานข้อมูล และระดับความเข้าใจของคนที่วิพากษ์วิจารณ์
อย่างทุกวันนี้ข้อมูลบางอย่างบ่งบอกว่า การลงทุนของต่างประเทศโดยตรงแต่ผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เม็ดเงินที่จะเข้ามาจะไม่ได้มากอย่างที่คิด การจ้างงานจะไม่เป็นไปตามคาด การก่อสร้าง การซื้อขายหรือเช่าอสังหาริมทรัพย์จะลดน้อยลง เพราะคนเข้ามาลงทุนน้อย บางคนอาจจะให้เหตุผลโดยคิดเอาเอง หรือทำการสำรวจความเห็นมา แล้วระบุว่า เขาไม่มาลงทุนเพราะไม่มั่นใจเสถียรภาพของรัฐบาล รัฐบาลไม่ได้มากจากการเลือกตั้ง แต่มาจากการใช้กำลังยึดอำนาจ
วิจารณ์และเผยแพร่อย่างนี้ผ่านอินเตอร์เน็ท ใครจะมาตัดสินว่าคนวิจารณ์และเผยแพร่จะติดคุกหรือไม่
ผมว่ากฎหมายที่จะออกมานี้จะต้องพิจารณาให้ดี ในเรื่องกระทบสิทธิและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เพราะนี่เป็นพื้นฐานของวิถีประชาธิปไตย ความสำคัญของกฎหมายน่าจะอยู่ที่ สามารถนำกฎหมายที่ออกมาใหม่ไปรองรับการกระทำความผิดเกี่ยวกับสิทธิ์ของบุคคลอื่น มากกว่าที่จะมุ่งไปที่จำกัดเสรีภาพของบุคคล
กฎหมายควรจะออกมาในลักษณะ ใครเข้าข่ายหมิ่นประมาทตามกฎหมายที่มีอยู่ ไปเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ท ก็ต้องมีโทษเหมือนหมิ่นประมาทตามกฎหมายอาญาที่มีอยู่ (ความจริงต้องเลิกกฎหมายหมายหมิ่นประมาทตามกฎหมายอาญาได้แล้ว) หรือผิดฐานละเมิดตามกฎหมายแพ่งที่มีอยู่ ก็ต้องผิดเหมือนกัน เพราะความจริงแล้วเราต้องการจะให้มีกฎหมายชัดๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของบุคคลโดยทั่วไปเป็นสาระสำคัญมิใช่หรือ
การกระทำความผิดด้านความมั่นคง ก็ต้องถือว่าผิดตามบทบัญญัติของกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงด้วย ถ้ามีพฤติกรรมเข้าข่ายเป็นภัยความมั่นคง และพฤติกรรมนั้นเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ท ก็ต้องมีความผิดเช่นกัน เพราะอินเตอร์เน็ทก็คือสื่อชนิดหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น: